การทำเว็บไซต์ E-Commerce

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การทำเว็บ อีคอมเมิทคือ

E-Commerce คืออะไร
E-Commerce หรือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจที่องค์กรได้วางไว้ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้ 

E-Commerce ช่วยอำนวยความสะดวกให้นักธุรกิจได้หลายด้าน ดังนี้
1.ทำงานแทนพนักงานขายได้ โดยสามารถทำการค้าแบบอัตโนมัติ ได้อย่างรวดเร็ว
2.ทำให้เปิดหน้าร้านขายของ ให้คนทั่วโลกได้ และเปิดขายได้ทุกวันโดยไม่มีวันหยุดตลอด 24 ชั่วโมง เช่น การขายโดยใช้ระบบ Shopping Cart ทำให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าได้เองตลอดเวลาผ่านเว็บไซต์
3.เก็บเงิน และนำฝาก เข้าบัญชีให้คุณได้โดยอัตโนมัติ
4.ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ในการจัดพิมพ์แคตาล็อก (กระดาษ) ออกมาเป็นเล่ม ๆ และไม่ต้องมาเสียเงิน และเวลาในการจัดส่งให้ลูกค้าทางไปรษณีย์อีก
5.แทนได้ทั้งหน้าร้าน (Showroom) หรือบูท (Booth) แสดงสินค้าของคุณที่มีคนทั่วโลกมองเห็น ไม่ต้องเสียค่าเครื่องบิน ไปออกงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ
6.แทน และเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารธุรกิจ ภายในของเราได้อีกมากมาย 

ประเภทของ E-Commerce
1.การทำการค้าระหว่าง Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) กับ Business (ผู้ทำการค้า) เช่น ลูกค้าต้องการซื้อหนังสือกับร้านค้า
2.การทำการค้าระหว่าง Business (ผู้ทำการค้า)  กับ Business ( ผู้ทำการค้า) เช่น ร้านขายหนังสือค้าต้องการสั่งซื้อหนังสือจากโรงพิมพ์
3.การทำการค้าระหว่าง Business ( ผู้ทำการค้า)  กับ Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) เช่น โรงพิมพ์ต้องการซื้อต้นฉบับจากผู้เขียน4. การทำการค้าระหว่าง Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ)  กับ Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) ด้วยกันเช่น ผู้บริโภคต้องการขายรถยนต์ของต้นเองให้กับผู้บริโภคท่านที่สนใจ

ข้อดี
1.เปิดดำเนินการค้า 24 ชั่วโมง
2.ดำเนินการค้าอย่างไร้พรมแดนทั่วโลก
3.ใช้งบประมาณลงทุนน้อย
4.ตัดปัญหาด้านการเดินทาง
5.ง่ายต่อการประชาสัมพัธ์โดย สามารถประชาสัมพันธ์ได้ทั่วโลก
 
ข้อเสีย
1.ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
2.จำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับอย่างมีประสิทธิภาพ
3.การดำเนินการด้านภาษีต้องชัดเจน
4.ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.google.co.th/search

ข้อดีและข้อเสียของ social media มีอะไรบ้าง?

ข้อดีและข้อเสียของ social media มีอะไรบ้าง

social media คือ สื่อสังคมออนไลน์ที่ทุกๆ คนสามารถแสดงความคิดเห็น รับรู้ข่าวสาร ได้อย่างแพร่หลาย ไม่จำเป็นว่าคนๆ นั้นจะเป็นใครหรือมาจากไหนเพียงแค่พวกเขามีบัญชีผู้ใช้งานของ social media แต่ละชนิดก็สามารถที่จะเข้าไปเป็นสมาชิกพร้อมกับใช้งานกับสิ่งเหล่านี้ได้อย่างหลากหลาย เราจะเห็นว่าด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน social media เองก็กลายเป็นสิ่งที่พัฒนาควบคู่กันไปด้วยอย่างไม่หยุดยั้ง อย่างไรก็ตามทุกๆ อย่างบนโลกใบนี้ก็ล้วนแล้วแต่มีข้อดีและข้อเสียด้วยกันทั้งสิ้น social media เองก็เช่นเดียวกันที่จะต้องมี 2 สิ่งนี้ควบคู่กันไปขึ้นอยู่กับว่าใครจะสามารถดึงจุดไหนไปใช้งานได้ก็เท่านั้นเอง

ข้อดีของ social media

  1. สามารถแลกเปลี่ยนและศึกษาข้อมูลที่ต้องการได้รวดเร็ว – ด้วยความที่ยุคนี้อินเตอร์เน็ตคือสิ่งที่สามารถทำได้เราทำอะไรได้อย่างรวดเร็ว social media เองจึงกลายเป็นตัวกลางที่จะเอาไว้แลกเปลี่ยนข้อมูลหรือศึกษาข้อมูลต่างๆ ได้รวดเร็ว ทันใจ
  2. สะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย – ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาความรู้ การติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นสามารถทำได้ง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องเสียเงินอะไรมาก
  3. สามารถแสดงสิ่งต่างๆ ของตัวเองให้คนอื่นได้เห็นได้ – ความสามารถทุกอย่างสามารถแสดงผ่าน social media ได้ และหากเป็นที่ถูกใจคนอื่นก็จะได้รับความนิยมจนกลายเป็นคนดังไปอย่างง่ายๆ
  4. สร้างรายได้ให้กับผู้ใช้งาน – ตรงจุดนี้เราเห็นได้ชัดเจนมากในปัจจุบัน ทั้งการขายของออนไลน์ การรับงานต่างๆ ผ่าน social media เหล่านี้ล้วนสร้างรายได้ให้กับผู้ที่ใช้งานกันมานักต่อนักแล้ว
  5. ทำให้ติดต่อคนที่ห่างไกลหรือไม่ได้ติดต่อกันนานได้ง่าย – นอกจากนี้ยังรวมไปถึงยังสามารถเห็นความเคลื่อนไหวของคนเหล่านี้ได้แม้ไม่ได้อยู่ด้วยกันก็ตามที
  6. เป็นช่องทางการตลาดรูปแบบใหม่ – องค์กรหลายๆ แห่งหันมาให้ความสำคัญกับ social media เป็นอย่างมากในการสร้างเป็นช่องทางการตลาดใหม่ๆ เพื่อขายสินค้าหรือบริการ

ข้อเสียของ social media

1. ล้วงลึกข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป – เราจะเห็นว่าการสมัครบัญชีผู้ใช้งานแต่ละครั้งจำเป็นต้องรู้ข้อมูลส่วนตัวซึ่งมันสามารถหลุดหรือแพร่กระจายไปได้

2.โดนหลอกจากการใช้ social media – เห็นกันอยู่บ่อยๆ อาทิ หลอกลวงไปทำมิดีมิร้าย หลอกขายสินค้า สิ่งเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้บน social media เพราะมันไม่ได้เห็นหน้าตา ไม่รู้นิสัยใจคอที่แท้จริงต่อกัน

3.โดนละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานต่างๆ ได้ง่าย – การที่คุณแม้แต่ลงรูปหรือผลงานต่างๆ หากไม่ใส่ลายเซ็นหรือจุดเด่นของตัวเองลงไปก็อาจโดนเอาสิ่งเหล่านั้นไปทำอย่างอื่นโดยที่เราไม่รู้ตัว เช่น เอาไปตัดต่อเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เป็นต้น

4.ทำให้หมกมุ่นจนเกินเหตุ – บางคนติด social media มากจนเสียงาน เสียการเรียน ก็มีให้เห็นเยอะแยะไป จึงควรเล่นแต่พอดี     

ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.unmeeonline.org/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-social-media-%E0%B8%A1%E0%B8%B5/

Keyword มีกี่ประเภท?

 5 ประเภทของ Keyword

ในการทำการตลาดบน Search Engine นั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ Keyword ถ้าเราเลือก Keyword ได้ดี โอกาสที่จะจูงใจลูกค้าให้ซื้อของหรือบริการก็จะมากขึ้นตามไปด้วย คนในวงการมักแบ่งประเภทของ Keyword ออกเป็นกลุ่มเพื่อให้สามารถทำงานได้ง่าย ซึ่งบทความวันนี้ผมจะขอหยิบเอา 5 ประเภทหลักๆของ Keyword ที่นิยมใช้กันนั่นก็คือ Generic Keyword, Brand Keyword, Long tail Keyword, Misspelling Keyword, Competitor Keyword

ทั้ง 5 เป็นการจำแนกตามจุดประสงค์ของ Keyword ออกเป็นกลุ่มๆ ซึ่งการจัดประเภทนี้เป็นคนละอันกับ Match types ของ Keyword (Broad, Phrase, Exact) อ่านบทความนี้ให้จบรับรองว่ามีประโยชน์แน่นอนสำหรับการทำ Search Marketing ไม่ว่าจะเป็นการทำ SEO หรือ Paid Search ก็ตาม

หา keyword

  1. Generic Keyword คือ Keyword ทั่วๆไปที่ผู้ค้นหาใช้โดยไม่ได้สื่อความหมายตรงๆไปยังแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง หรือ สินค้าประเภทใดประเภทหนึ่ง แต่มีจุดประสงค์กว้างๆในการค้นหาเช่น เที่ยวอเมริกาเหนือ, เสื้อยืด, กาแฟลาเต้, ลดน้ำหนัก จะเห็นว่า Keyword ที่ยกตัวอย่างมานี้ เป็นคำกว้างที่คนส่วนใหญ่มักจะใช้ค้นหาเมื่อต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ
  2. Brand Keyword คือ Keyword ที่มีความหมายเจาะจงไปที่แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง ซึ่งผู้ค้นหาใช้ Keyword เหล่านี้ในการค้นหาเพื่อแสดงถึงความประสงค์ที่จะเข้าเว็บไซต์ของแบรนด์นั้นๆเช่น Lazada, Sanook, Microsoft จะเห็นว่ามันเป็นกลุ่ม Keyword ที่มีความเฉพาะเจาะจงในการค้นหามากในระดับหนึ่ง คนที่ค้นหาด้วย Keyword คำว่า Lazada นั่นก็เพราะเขาต้องการที่จะเข้าสู่เว็บไซต์ Lazada
  3. Long tail Keyword คือ Keyword ที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากๆ ผู้ค้นหาใช้ Keyword เหล่านี้ในการค้นหาโดยมีจุดประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงมากๆ ตัวอย่างเช่นผู้ค้นหาเข้าไป Search โดยใช้คำว่า “สมัคร บัตรเครดิต กรุงศรี First choice” เห็นมั้ยครับว่ามันเฉพาะเจาะจงสุดๆ คนที่ Search ด้วยคำนี้มีแนวโน้มที่จะสมัครเครดิตมากกว่าการ Search โดยใช้ Keyword คำว่า “บัตรเครดิต” ในปัจจุบัน Long tail Keyword ได้รับความนิยมนำเอามาทำ Search Marketing เป็นอย่างมาก
  4. Competitor Keyword คล้ายๆกับ Brand Keyword แต่เป็น Keyword ที่สื่อถึง Brand ของคู่แข่ง โดยมากใช้เพื่อทำการแย่งลูกค้ามาจากคู่แข่ง ตัวอย่างเช่นธนาคาร XYZ อาจจะซื้อ Keyword คำว่า “บัตรเครดิต ธนาคาร ABC” เพื่อแย่งลูกค้ามาจากธนาคาร ABC ก็เป็นได้
  5. Misspelling Keyword ตามชื่อเลยครับ มันก็คือ Keyword ทั่วๆไปนี่แหละเพียงแต่ผู้ค้นหาอาจจะพิมพ์คำนั้นผิด อาจจะเป็นเพราะว่าสะกดผิดหรือลืมเปลี่ยนภาษาเช่นผู้ค้นหาต้องการจะค้นหาคำว่า “iphone” แต่ดันลืมเปลี่ยนภาษาจนกลายเป็นคำว่า “รย้นำ” อะไรทำนองนี้ ทำให้การซื้อ Keyword ที่เขียนผิดดักเอาไว้ได้รับความนิยมมากในอดีต แต่ในปัจจุบันกลายเป็น Keyword ที่ไม่ค่อยนิยมเท่าไหร่แล้ว เนื่องจาก Volume ในการค้นหามีน้อยและ Search engine ส่วนใหญ่ก็จะมีการเดาคำผิดให้แทนอยู่แล้ว

ประโยชน์ของการแบ่ง Keyword ออกมาเป็นกลุ่มๆทั้ง 5 จะช่วยให้คนทำการตลาดในเครือข่ายค้นหา (Search Marketing) สามารถบริหารจัดการ Keyword ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะเราสามารถ Focus ไปยัง Keyword ที่มีความเฉพาะเจาะจงต่างกันและเลือกหน้า landing page ที่เหมาะสมกับ Keyword แต่ละคำได้

นอกจากนี้การแบ่ง Keyword ออกเป็นกลุ่มๆตามประเภท ยังมีประโยชน์ในการวาง Campaign Structure เพื่อทำ Paid search ให้มีประสิทธิภาพอีกด้วย เอาไว้เดี๋ยวโพสหน้าจะมาเขียนบทความเรื่อง Campaign Structure ให้อ่านกันนะครับ

ก่อนจบบทความวันนี้ขอฝากเอาไว้สำหรับคนที่ทำการตลาดบนเครือข่ายค้นหาว่า

“มันไม่สำคัญว่าลูกค้าจะค้นหาด้วยคำว่าอะไรบ้าง แต่ถ้ามันเป็น Keyword ที่จะทำเงินให้เว็บเราได้ นั่นคือหน้าที่ของเราที่จะต้องไปโพล่อยู่ตรงนั้น”

สำหรับวันนี้ก็ขอลาไปเท่านี้ครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก http://hooktalk.com/keyword-basic-seo-adwords/

keyword คืออะไร?

keyword คืออะไร และมีความสำคัญต่อเว็บไซต์อย่างไร ?

Keyword คืออะไร

ความหมาย Keyword ในภาษาของเครื่องคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต คือ คำหรือข้อความ ที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต พิมพ์ลงไปเพื่อใช้ในการ ค้นหาเว็บไซต์ หรือข้อมูลต่าง ๆ  จะเป็นคำที่ใช้ในการอธิบายรูป ลักษณะของเอกสารนั้น เช่น ชื่อเรื่อง หัวข้อ หัวเรื่อง รายละเอียดอย่างย่อของเอกสาร เพื่อความสะดวก และความรวดเร็ว ในการสืบค้น เอกสารในข้อมูลระบบ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาเว็บเพจ ที่อยู่ในฐานข้อมูลของ เสิร์ชเอนจิ้น หรือการสืบค้นเอกสารต่างๆ ในระบบของห้องสมุด เป็นต้น ดังนั้น Keyword คีย์เวิร์ด จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่ง Keyword นี้จะเป็นเหมือนสัญลักษณ์ประจำตัว ของหน้าเว็บเพจหรือเรื่องนั้น ๆ

keyword-shopsbuydKeyword มีความสำคัญอย่างไร

ในส่วนของการโปรโมทเว็บไซต์นั้น Keyword มีความสำคัญอย่างมากในการบอกให้ Search Engine รู้และเข้าใจว่าเว็บไซต์เรากำลังทำเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร และต้องการให้เว็บค้นหาอย่าง Google นำเว็บเราไป Index และแสดงผลในหมวดหรือกลุ่มคำไหน ส่วนเรื่องของอันดับว่าจะอยู่ลำดับที่เท่าไหร่นั้้น ก็ขึ้นอยู่กับบทความมีคุณภาพมากน้อยเพียงใดต่อผู้อ่าน หากเว็บที่มีเนื้อหาคุณภาพเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านและได้มีการนำเอาระบบ Social Network มาใช้โดยการส่งต่อ ก็จะทำให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น การทำเว็บโดยเน้นการสร้างบทความคุณภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เว็บไซต์ ของคุณอยู่อันดับต้นๆของผลการค้นหาได้

ขอบคุณข้อมูลจาก  https://shopsabuyd.wordpress.com/2014/05/14/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D-keyword/

Domain Name คืออะไร?

ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม คืออะไร อธิบายได้ดังนี้ โดเมนเนม หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ ชื่อองค์กร ชื่อบริษัท หรืออื่นๆ ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้จดจำได้ง่ายและสามารถนำไปใช้ได้ง่ายที่นำทางให้ผู้ใช้เข้าสู่เว็บไซต์ โดเมนเนมยังทำหน้าที่นำทางไปสู่ไฟล์เว็บไซต์ หรือเซิพเวอร์ที่เก็บไฟล์เว็บไซต์ที่เรียกว่า “เว็บโฮสติ้ง” ทำให้เว็บไซต์ของคุณออนไลน์ผ่านภายใต้ชื่อ โดเมนเนมที่ได้ตั้งเอาไว้ ผู้ใช้งานโดเมนเนมสามารถเปลี่ยนไอพีแอดเดรสเพื่อชี้ไปยังเว็บโฮสติ้งได้ตามต้องการ ตอนเราจดทะเบียน โดเมนเนม กับผู้ให้บริการ เราจะเห็นได้ว่าจะมี .ด็อทให้เลือกเป้นจำนวนมาก ที่นิยมสุดคือ .com เพราะเป็นด็อทในยุคแรกๆ ที่เริ่มใช้กัน และง่ายต่อการจดจำ โดเมนเนม แบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. โดเมน 2 ระดับ ชื่อโดเมน.ประเภทของโดเมน (ตย. finerdev.com)
  2. โดเมน 3 ระดับ ชื่อโดเมน.ประเภทของโดเมน.ประเทศ (ตย. finerdev.in.th)

โดเมนเนมมี “.ด็อท” ที่ย่อคำอธิบายขององค์กร โดย”.ด็อท” มีหลายรูปแบบ ดังนี้

  • .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
  • .org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
  • .net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย
  • .edu คือ สถาบันการศึกษา
  • .gov คือ องค์กรของรัฐบาล
  • .mil คือ องค์กรทางทหาร
  • .co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
  • .ac คือ สถาบันการศึกษา
  • .go คือ องค์กรของรัฐบาล
  • .net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
  • .or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร

จึงทำให้โดเมนเนมเป็นสิ่งสำคัญมากในการทำเว็บไซต์ โดยเฉพาะกับการโฆษณาบนอินเตอร์เน็ท ถ้าได้ชื่อที่เฉพาะเจาะจง ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจเป็นพื้นฐานเดิมอยู่แล้วนั้น จะทำให้โดเมนเนม หรือ เว็บไซต์นั้นๆ จะได้รับความสนใจและเป็นที่จดจำได้ง่ายไม่ใช่กับผู้เข้าชมหรือ กลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาชมเว็บไซต์ผ่านโดมเนมเท่านั้นยังรวมไปถึง Search Engine ชื่อดังต่างๆ เช่น Google Yahoo MSN เป็นต้น ที่จะเข้ามาแวะเวียนเข้ามาทำ index กับเว็บเพจหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์ของเรา ยังมีโดเมนเนมใหม่ๆอีกหลายๆ .ด็อทที่ไม่ได้นำมายกตัวอย่างอธิบายความหมายย่อของแต่ละอันอย่างเช่นโดเมนเนมฟรีจาก Freenom ที่ให้บริการ .tk, .ml, .ga, .cf, .gq เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.finerdev.com/what-is-a-domain-name/

Search Engines คืออะไร

เสิร์ชเอนจิน (Search Engines) คืออะไร

หลักการทำงานของระบบค้นหาข้อมูล

เสิร์ชเอนจิน (Search Engines) หมายถึง โปรแกรมค้นหา ที่ถูกออกแบบมาเป็นเครื่องมือใช้งานในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ  โดยโปรแกรมส่วนมากที่ใช้สำหรับการค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์ Search engines จะมีวิธีการค้นหาโดยการกรอกข้อมูลหรือคำที่ต้องการสืบค้นลงไป แล้วเว็บไซต์จะทำการประมวลผลลัพธ์ต่างๆ ออกมาให้ผู้สืบค้นข้อมูลทราบ ซึ่งคำค้นหาที่ใช้จะเรียกว่าเป็น Keyword (คีย์เวิร์ด) ของการสืบค้นข้อมูล ในปัจจุบันเทคโนโลยีของ Search Engine ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพให้สูงมากยิ่งขึ้น โดยหลังจากที่ทำการค้นหาเรียบร้อยแล้ว ระบบจะสามารถทำการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ และบันทึกประวัติการค้นหาไว้สำหรับการกรองผลลัพธ์การค้นหาครั้งต่อไป เพื่อช่วยให้ผู้สืบค้นข้อมูล สามารถทำการค้นหาข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องแม่นยำ

การค้นหาข้อมูล หมายถึง การสืบค้นข้อมูลที่ต้องการทราบบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่สามารถเข้าถึงได้สะดวกและรวดเร็ว โดยวิธีการค้นหาที่สามารถทำได้ง่ายและให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ จะต้องทำการค้นหาจากเว็บไซต์สำหรับค้นหาข้อมูลหรือเรียกว่า Search Engine Site ที่มีหน้าที่ในการรวบรวมรายชื่อของเว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่ ทำให้ประหยัดเวลาในการใช้งานมากกว่าการค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง

รายชื่อ Search Engine Site ที่นิยม

  • Google (www.google.com) – อันดับหนึ่งของโลก ในเกือบทุกๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย
  • Bing (www.bing.com) – เป็นเว็บค้นหา ของบริษัท Microsoft คู่แข่งกับ Google โดยตรง
  • Yahoo (www.yahoo.com) – ตั้งแต่ ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา Yahoo ถูกซื้อกิจการโดย Bing (จาก Microsoft)
  • Ask.com (www.ask.com) – เว็บแสดงผลการค้นหา โดยเจาะจงที่คำถาม-คำตอบ มากกว่า How-to
  • AOL.com (www.aol.com) – เอโอแอล network ค้นหาข้อมูล ภายใต้เว็บไซต์ที่มีส่วนร่วม
  • Baidu (www.baidu.com) – ไป่ตู้ เป็นเว็บ Search Engine ประจำประเทศจีน มีบริการต่างๆ คล้ายกับ Google
  • Wolframalpha (www.wolframalpha.com) – เว็บไซต์สำหรับค้นหา ข้อเท็จจริง เอกสารวิชาการต่างๆ
  • DuckDuckGo (duckduckgo.com) – ผลการค้นหาคล้าย Google ข้อดีคือ หน้าตาสะอาด ไม่ค่อยมีโฆษณา
  • Internet Archive (archive.org) – เป็นเว็บรวมผลการค้นหา เว็บไซต์เก่า – เว็บไซต์ที่ผิดตัวไปแล้ว

ประโยชน์ของ Search Engines

Search Engines มีประโยชน์ในการใช้สืบค้นข้อมูลที่ต้องการทราบได้อย่างสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา รวมทั้งให้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความตรงการแก่ผู้สืบค้นข้อมูล ดังนั้นการสร้างและออกแบบเว็บไซต์ใหม่ๆ ในในปัจจุบันจึงควรคำนึงถึงรูปแบบของเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมแก่ Search Engine ด้วยเช่นกัน (เรียกว่าการทำ SEO) เพื่อให้ผู้สืบค้นสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

  1. ค้นหาเว็บไซต์ที่ต้องการได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว
  2. ค้นหาข้อมูลได้อย่างละเอียด และหลากหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น ข่าว เพลง รูปภาพ และอื่นๆ เป็นต้น
  3. ค้นหาข้อมูลได้จากเว็บไซต์เฉพาะทางต่างๆ ได้ เช่น เว็บไซต์เกี่ยวกับ ขาย Software หรือ เว็บไซต์รับทำการตลาดออนไลน์ เป็นต้น
  4. ค้นหาข้อมูลได้อย่างหลากหลาย
  5. รองรับการค้นหาได้หลายภาษา รวมทั้งภาษาไทย

ประเภทของ Search Engines

Search Engine สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท โดยมีความแตกต่างกันที่หลักการทำงาน และการจัดอันดับข้อมูลในการค้นหา

  1. Crawler Based Search Engines คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการสืบค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่ง Search Engines ชนิดนี้เป็นประเภทที่ได้รับความนิยมในการใช้งานสูงสุด มีหลักการทำงานโดยการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลต่างๆ สามารถให้ผลลัพธ์การค้นหาที่มีความแม่นยำสูง และมีการประมวลผลที่รวดเร็ว จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ในปัจจุบัน Crawler Based Search Engines มีบทบาทในการสืบค้นข้อมูลมากที่สุด
  2. Web Directory คือ สารบัญเว็บไซต์สำหรับการสืบค้นข้อมูลข่าวสาร ที่มีการจัดระเบียบและแบ่งข้อมูลต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่ ผู้สืบค้นจึงสามารถใช้งานได้ง่ายและมีความสะดวกในการค้นหา โดยในการค้นหาจะมีการสร้างดรรชนี และระบุหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจน ทำให้ในขณะที่กำลังทำการค้นหาข้อมูลต่างๆ ในหมวดหมู่หนึ่ง ที่อาจมีเนื้อหาคล้ายกันมากมายหลายเว็บไซต์ ผู้สืบค้นสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลมาเปรียบเทียบ และอ้างอิงเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงที่มีคุณภาพ และตรงประเด็นมากที่สุดได้
  3. Meta Search Engine คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการสืบค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีหลักการทำงานโดยการอาศัย Meta Tag สำหรับประกาศชุดคำสั่งที่ได้รับมาในรูปแบบของ Tex Editor โดยใช้ภาษา HTML ในการประมวลผลลัพธ์ ตัวอย่างเช่น คำค้นหา “บริษัท วันบีลีฟ” หรือคำอธิบายเว็บไซต์ เป็นต้น ซึ่ง Search Engine ชนิดดังกล่าวนี้ เป็นชนิดที่มีความแม่นยำในการค้นหาค่อนข้างต่ำ เนื่องจากสามารถถูกแก้ไขและออกแบบได้โดยผู้ให้บริการ เพื่อให้บล็อกหรือเว็บไซต์ของตนเองสามารถค้นพบได้ง่ายขึ้น    

ขอบคุณข้อมูบจาก https://www.1belief.com/article/search-engines/

Website มีกี่ประเภท

ประเภทของเว็บไซต์

websiteการที่เราจะสามารถใช้งานเว็บไซต์ให้ เกิดประโยชน์สูงสุดได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องเข้าใจถึงลักษณะทั่วไปของเว็บไซต์และจำแนกแยก แยะได้ว่าเว็บไซต์เหล่านั้นมีความแตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร รวมถึงมีหน้าที่หลักเฉพาะตัวอย่างใดบ้าง ทั้งนี้ เพื่อให้เรามองเห็นภาพรวมของเว็บไซต์ได้ดียิ่งขึ้น เราอาจแบ่งเว็บไซต์ออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 8 ประเภท ตามลักษณะของเนื้อหาและรูปแบบของเว็บไซต์ ซึ่งกลุ่มเว็บไซต์ทั้ง 8 ประเภทนั้น ได้แก่

1. เว็บท่า (Portal Site)

อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เว็บวาไรตี้ ซึ่งหมายถึงเว็บที่ให้บริการต่างๆ ไว้มากมาย มักประกอบไปด้วยบริการ เสิร์ชเอ็นจิ้น ที่รวมลิงค์ของเว็บไซต์ที่น่าสนใจไว้มากมายให้เราได้ค้นหา รวมถึงบริการที่เกี่ยวกับเรื่องราวที่มีสาระและบันเทิงหลากหลายประเภท ดูหนังฟังเพลง ดูดวง ท่องเที่ยว ไอที เกม สุขภาพ ฯลฯ

2. เว็บข่าว (News Site)

เป็นเว็บที่สร้างขึ้นโดยองค์กรข่าวหรือสถาบันสื่อสาร มวลชนต่างๆ ที่มีสื่อมวลชนประเภทต่างๆ ของตนอยู่เป็นหลัก เช่น สถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วรสาร หรือแม้กระทั่ง กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลและติดตามข่าวได้ทุกเวลา

3. เว็บข้อมูล (Information Site)

เป็นเว็บที่ให้บริการเกี่ยวกับการสืบค้น ข้อมูลข่าวสาร หรือข้อเท็จจริงต่างๆ ที่น่าสนใจ องค์กรต่างๆ มักสร้างเว็บข้อมูลของตนขึ้นมาเพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนหรือกลุ่มบุคคลที่ สนใจ เข้ามาศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับองค์กรของตน

4. เว็บธุรกิจหรือการตลาด (Business/Marketing Site)

สร้างขึ้นโดย องค์กรธุรกิจต่าง ๆ มีจุดประสงค์ในการประชาสัมพันธ์องค์กรและเพิ่มผลกำไรทางการค้าด้วย โดยเนื้อหาส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดมักจะเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับรายละเอียด และความน่าสนใจของสินค้าและบริการ

5. เว็บการศึกษา (Educational Site)

ส่วนใหญ่สร้างขึ้นโดยสถาบันการศึกษาต่างๆ หรือองค์กรทั้งของภาครัฐและเอกชนที่มีนโยบายในการเผยแพร่ความรู้ และให้โอกาสในการค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อการศึกษาแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไป เว็บการศึกษาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ บริการการเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือที่เรียกว่า อีเลิร์นนิ่ง (E-Learning) ต่าง ๆ

6. เว็บบันเทิง (Entertainment Site)

เป็นเว็บนำเสนอและให้บริการต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความบันเทิง จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกัน ดนตรี ภาพยนตร์ ดารา กีฬา เกม ความรัก บทกลอน การ์ตูน เรื่องขำขัน รวมถึงบริการดาวน์โหลดโลโก้และริงโทนสำหรับโทรศัพท์เคลือนที่ด้วย

7. เว็บองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร (Non-profit Organization Site)

ส่วนใหญ่สร้างขึ้นโดยบุคคลหรือองค์การต่าง ๆ ที่มีนโยบายในการสร้างและช่วยเหลือสังคมโดยที่ไม่หวังผลกำไรหรือค่าตอบแทน ซึ่งกลุ่มบุคคลหรือองค์การเหล่านี้ได้แก่ สมาคม ชมรม มูลนิธี และโครงการต่างๆ โดยอาจจะมีจุดประสงค์เฉพาะที่แตกต่างกันเช่น เพื่อทำความดี สร้างสรรค์สังคม พิทักษ์สิ่งแวดล้อม ปกป้องสิทธิมนุษยชน รณรงค์ไม่สูบบุหรี่ เป็นต้น

8. เว็บส่วนตัว (Personal Site)

บางครั้งอาจเป็นเว็บของคนๆ เดียว เพื่อนฝูง หรือครอบครัวก็ได้ โดยอาจจะจัดทำขึ้นด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน เช่น แนะนำตนเอง แนะนำกลุ่มเพื่อน โชว์รูปภาพ แสดงความคิดเห็น เขียนไดอารี่ประจำวัน นำเสนอผลงาน ถ่ายทอดประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งที่เชี่ยวชาญหรือสนใจ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ website มีกี่ประเภท
ขอบคุณข้อมูลจาก https://chonlatee.co.th/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97-%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84/

WordPress คืออะไร?

WordPress คืออะไร ?

การสร้างเว็บไซต์ ด้วยระบบจัดการเนื้อหา CMS (Content Management System) ถือเป็นอีกตัวเลือกนึงที่นิยมกันมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องการความเรียบง่ายในการใช้งาน แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงมีรูปแบบและฟังก์ชั่นต่างๆที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการที่สำคัญๆได้ และหนึ่งใน CMS       ที่เป็นที่รู้จักกันดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในทุกวันนี้ คือ WordPress

WordPress คือ …?

WordPress เหมือนกับคู่แข่ง CMS ตัวอื่นๆ คือเป็น Template-based หมายความว่า คุณเพียงแค่เลือกรูปแบบเว็บ (สำหรับ WordPress จะเรียกว่า Theme)          ที่คุณชอบ , ปรับแต่ง Theme ที่คุณเลือกจนพอใจ จากนั้นก็ใช้งานโดยการอัพขึ้นเว็บ … ด้วยความหลากหลายของลูกเล่นต่างๆ Plugins (ส่วนเสริม) และ Widgets (ชุดเครื่องมือคำสั่งขนาดเล็ก) ที่มีให้คุณเลือกใช้มากมายเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ให้เป็นไปตามจินตนาการของคุณเอง ทำให้ WordPress ถูกนำมาใช้ในการสร้างเว็บไซต์  e-Commerce, ชุมชนออนไลน์, บล็อก, เว็บไซต์องค์กร รวมถึงเว็บไซต์ธุรกิจต่างๆ โดยคนเป็นล้านๆทั่วโลก (ในปัจจุบันจำนวนเว็บไซต์กว่า 1 ใน 4 ของโลก   ใช้  Platform – WordPress)

ในการสร้างเว็บไซต์สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก WordPress เป็นตัวเลือกนึงที่ดีเยี่ยม เพราะใช้งานได้สะดวกง่ายดายและมีความหลากหลาย มันสามารถทำอะไรต่างๆได้มากมาย โดยที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยความรู้ทางเทคนิคมากนักในการเริ่มต้น 

ข้อดีของการสร้างเว็บด้วย WordPress

• ตัวโปรแกรม WordPress สามารถโหลดและใช้งานได้ฟรี
• ติดตั้งง่ายดาย เพียงแค่คลิกเดียว (สำหรับผู้ให้บริการ Hosting ส่วนมาก)
• มีระบบ Plugin (ส่วนเสริม) มากมายให้เลือกใช้ และสามารถเปิด-ปิดการใช้งานได้แค่คลิกเดียว
• มีระบบ RSS Feeds ที่มีคุณภาพ
• มีระบบ ตั้งค่ากำหนดให้แสดง URL เองได้ (ซึ่งเป็นมิตรกับ SEO)
• มีระบบ Post Categories สำหรับแยกหมวดหมู่ Post
• มีระบบ Pages ที่สามารถ ใช้สร้างเป็นหน้า Static Page สำหรับเว็บ
• มีระบบ Media ที่สามารถเพิ่มไฟล์ต่างๆได้ ทั้งรูปภาพ, คลิปวีดีโอ, เพลง, รวมถึงไฟล์ต่างๆ
• มี Interface การใช้งานที่ง่าย เหมาะสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป ไม่จำเป็นต้องมีทักษะความรู้ด้านเทคนิคมากนัก
• มีระบบ Post และ Page ที่สามารถตั้งเวลาโพส กำหนดผู้เขียนได้ และสามารถป้องกันการดูด้วยรหัสผ่านได้
• สามารถแก้ไขปรับเปลี่ยน Template, Layout รวมถึง Content ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
• มีรูปแบบ Theme ระดับมืออาชีพให้เลือกใช้มากมาย (ทั้งฟรีและเสียเงิน)
• สามารถเชื่อมต่อเข้ากับ Social Media ได้อย่างง่ายดายและหลากหลาย
• เป็นมิตรต่อการทำ SEO สามารถปรับแต่ง On-Page SEO ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

ข้อแตกต่าง WordPress.com กับ WordPress.org

WordPress คืออะไร ?

รูปแบบของ WordPress แบ่งออกได้ 2 อย่างตามความเข้าใจของคนทั่วไป คือ WordPress.org และ WordPress.com หากเมื่อพูดถึง WordPress มือใหม่อาจจะสงสัยและสับสน ผมขออธิบายให้เข้าใจง่ายๆดังนี้

WordPress.org คือ เว็บสำหรับ Download โปรแกรม WordPress ซึ่งเป็น CMS/Blogging แบบ Open Source ยอดนิยม ที่มีคนมารวมตัวช่วยกันพัฒนามากมาย และเป็นโปรแกรมฟรี โดยคุณสามารถดาวน์โหลดไฟล์ WordPress แล้วนำมาติดตั้งบน Host – Server ของตัวเอง และหลังจากติดตั้งโปรแกรม WordPress แล้ว คุณสามารถจะดาวน์โหลด Plugin (ส่วนเสริมต่างๆ) , Theme (รูปแบบเว็บ) มาใช้งานได้อย่างอิสระ โดยทั้งหมดจะมีให้โหลดใน WordPress.org

WordPress.com คือ เว็บไซต์เชิงพาณิชย์ (ของทีมผู้ก่อตั้ง WordPress.org) เป็น Host ฟรีที่ติดตั้ง WordPress มาให้เรียบร้อยแล้วแต่มีข้อจำกัดบางอย่างในการใช้งานหรือจำเป็นต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพื่อลบข้อจำกัดนั้นๆ 

ข้อดี-ข้อเสียของ WordPress.org

• ต้องเสียเงินเช่า Host เอง (เสียเงินปีละประมาณ 1200 – 12000 บาท ~ แล้วแต่ผู้ให้บริการ)
• มี Domain Name เป็นของตัวเอง (เสียเงินปีละประมาณ 350 – 600 บาท ~ แล้วแต่ผู้ให้บริการ)
• ต้องติดตังตัวโปรแกรม WordPress เอง (แต่หากเช่า Host ที่ติดตั้งให้แล้วก็สบาย ใช้งานได้ทันที)
• ต้องติดตั้ง Plugin ต่างๆเอง (ติดตั้งง่ายดาย แค่เราต้องรู้ว่า Plugin ตัวไหนควรใช้)
• ฟังก์ชั่นต่างๆ เปิดให้ใช้ครบถ้วน ไม่ต้องเสียเงิน
• พื้นที่การใช้งาน ไม่จำกัด (ขึ้นอยู่กับพื้นที่ Host ที่เราเช่า)
• Theme รูปแบบเว็บ เลือกใช้ได้อย่างไม่จำกัด จะเพิ่มกี่รูปแบบก็ได้
• Theme รูปแบบเว็บ ระดับ Premium สวยๆ ต้องเสียเงินซื้อ (ประมาณ 1500 – 2000 บาท)
• ไม่มีป้ายโฆษณาของ WordPress (ไม่มี Ads มากวนใจ)
• สามารถใช้ FTP โอนข้อมูลไฟล์ได้อย่างอิสระ
• สามารถติด Google AdSense หรือ Ads อื่นๆได้อย่างอิสระ
• สามารถเพิ่มเข้า Google Analytics เพื่อติดตามสถิติเว็บได้

ข้อดี-ข้อเสียของ WordPress.com

• Free Host ไม่เสียเงินค่าเช่า Host (ใช้ของ WordPress.com)
• Domain Name จะเป็น ชื่อเว็บ.wordpress.com
• ไม่ต้องติดตั้ง สมัครแล้วเข้าใช้ได้เลย และมี Plugin ที่จำเป็นติดตั้งไว้ให้เรียบร้อยแล้ว 
• ลง Plugins เพิ่มเติมเองไม่ได้ (ต้องเสียเงินถึงจะลงเพิ่มได้)
• ฟังก์ชั่นถูกจำกัดหลายอย่าง (ต้องเสียเงินเพื่ออัพเกรด ถึงใช้ได้)
• พื้นที่ใช้งานจำกัด (ต้องเสียเงินเพื่อเพิ่มพื้นที่)
• Theme รูปแบบเว็บ มีให้ใช้อย่างจำกัด ไม่สามารถลง Theme เพิ่มเองได้ (ต้องเสียเงินถึงจะลงเพิ่มได้)
• มีป้ายโฆษณา (Ads) ติด (ต้องเสียเงินเพื่อเอาป้าย Banner โฆษณาจาก WordPress.com ออก)
• ไม่สามารถใช้ FTP โอนข้อมูลไฟล์ได้
• ไม่สามารถติด Google AdSense ได้ 
• ไม่สามารถเพิ่มเข้า Google Analytics เพื่อติดตามสถิติเว็บได้

กล่าวโดยสรุป จากข้อแตกต่าง จะเห็นได้ว่า หากคุณต้องการสร้างเว็บไซต์แบบใช้งานจริง ก็ควรเลือกที่จะเช่าโฮสเอง และโหลดโปรแกรม WordPress    มาติดตั้ง จาก WordPress.org แต่หากคุณเป็นผู้เริ่มต้นที่อยากศึกษาระบบการใช้งานในเบื้องต้น หรือ อยากมีเว็บแค่เป็นลักษณะ Blog ส่วนตัว ก็ให้เลือกใช้ WordPress.com

ลือก WordPress.org

– ถ้าคุณต้องการสร้างร้านค้าออนไลน์ หรืออยากมีระบบ e-Commerce 
– ถ้าคุณต้องการอัพโหลด Theme หรือ Plugins เอง 
– ถ้าคุณต้องการมีหลายเว็บไซต์ 
– ถ้าคุณต้องการพื้นที่ใช้งานมากๆสำหรับวีดีโอหรือรูปภาพ 
– ถ้าคุณต้องการมีเว็บไซต์สำหรับทำธุรกิจ 

เลือก WordPress.com

– ถ้าคุณไม่ต้องการยุ่งในเรื่องการดูแลเว็บไซต์ของคุณ
– ถ้าคุณต้องการแค่จัดการ Content เนื้อหาเพียงอย่างเดียว
– ถ้าคุณเป็นมือใหม่ที่ต้องการสร้าง Blog ส่วนตัว
– ถ้าคุณเป็นมือใหม่ที่อยากลองเรียนรู้ระบบ WordPress
– ถ้าคุณไม่จำเป็นต้องมีชื่อ Domain Name ของตัวเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.jojho.com/2014/10/what-is-wordpress.html

Design a site like this with WordPress.com
เริ่มได้